วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของชมพู่


ประโยชน์ของชมพู่

       ผลชมพู่สดให้เส้นใยอาหารทั้งชนิดที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งดีต่อระบบขับถ่ายช่วยลดระดับ  คอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงชองการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ วิตามินซีช่วยปกป้องร่างกายด้วยการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อสร้างคอลลาเจน ที่จำเป็นต่อการสร้างผิวหนังและรักษาบาดแผล ชมพู่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียม ชมพู่ยังเป็นผลไม้หนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มี ไลโคพีน รงควัตถุสีแดงที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำควรระวังการกิน เพราะเนื้อชมพู่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก
ชมพู่เป็นไม้ผลเขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชจัดอยู่ตระกูลเดียวกับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ชอบน้ำ จัดเป็นไม้ผลที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบ ผลมีรสชาติหวานกรอบ คนไทยจึงนิยมปลูกเป็นไม้มงคลประจำบ้านชมพู่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ผลนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น เยลลี่ แยม และแช่อิ่ม เป็นต้น
ชมพู่ เป็นผลไม้ที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า "จัมบู" หรือ "จามู" อินเดียกเรียกว่า gulab-jaman
ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า pomme-rose ในสเปนเรียกว่า poma-rose มีชื่อสามัญว่า Rose apple
เพราะมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   Syzygium jambos (L.) Alston
ชมพู่มีถิ่นกำเนิดแถบมลายู มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อที่เรียกในแต่ละท้องถิ่นล้วนเพี้ยนมาจากคำว่า "จัมบู" ของมลายูทั้งสิ้น
บางตำราระบุว่าแหล่งดั้งเดิมของชมพู่อยู่ในประเทศอินเดีย เพราะเป็นแหล่งรวมของพันธุ์ชมพู่หลากหลาย 

ลักษณะ ของพืช ต้นชมพู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางทรงพุ่ม ใบหนาเป็นมัน โตพอสมควร
ดอกจะบานออกมาเป็นฝอยฟูคล้ายกับดอกกระถิน มีสีขาว สีเขียวใบไม้ สีชมพูอ่อนๆผสมผสานกันอยู่
ผลชมพู่ลักษณะกลมแป้น สีเขียวทางขั้วเล็ก เมล็ดในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเยื่อใยฟูนิ่มอยู่ภายนอก 

ประโยชน์ต่อสุขภาพ
รส และสรรพคุณยาไทย เอาเนื้อมาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่นหอม
โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที
สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ลักษณะของพืช ต้นชมพู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางทรงพุ่ม ใบหนาเป็นมัน โตพอสมควร ดอกจะบานออกมาเป็นฝอยฟูคล้ายกับดอกกระถิน มีสีขาว สีเขียวใบไม้ สีชมพูอ่อนๆผสมผสานกันอยู่ ผลชมพู่ลักษณะกลมแป้น สีเขียวทางขั้วเล็ก เมล็ดในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเยื่อใยฟูนิ่มอยู่ภายนอก